Enjoying your free trial? Only 9 days left! Upgrade Now
Brand-New
Dashboard lnterface
ln the Making
We are proud to announce that we are developing a fresh new dashboard interface to improve user experience.
We invite you to preview our new dashboard and have a try. Some features will become unavailable, but they will be added in the future.
Don't hesitate to try it out as it's easy to switch back to the interface you're used to.
No, try later
Go to new dashboard
303D812FCE3D4C243018D8F05D826A6FD9ECEF73-ผลงานตีพิมพ์ คู่มือการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาปล้องอ้อย Read More
Home Explore 303D812FCE3D4C243018D8F05D826A6FD9ECEF73-ผลงานตีพิมพ์ คู่มือการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาปล้องอ้อย
Publications:
Followers:
Follow
Publications
Read Text Version
More from ดร.วชิระ พรหมวงศ์
P:02

คู่มือการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาปล้องอ้อย

Handbook of Breeding and Nursing Giant Kuhli Loach,

Pangio myersi (Harry, 1949)

ณัฐชพงศ์ เพชรฤทธิ์ Natchapong Petchrit

สุขาวดี จารุรัชต์ธำรง Sukhawadee Jaruratthumrong

ประชา ณะเตีย Pracha Natea

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสตูล Satun Inland Fisheries Research and

Development Center

กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด Inland fisheries Research and Development Division

กรมประมง Department of Fisheries

2565 2022

P:03

คำนำ

ปลาปล้องอ้อย Giant Kuhli Loach, Pangio myersi (Harry, 1949) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก

ชนิดหนึ่งของไทย มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัด โดยพบมากในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก เป็นปลาที่มี

ความแปลก สวยงาม เลี้ยงง่าย มีนิสัยรักสงบ สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ๆ ได้ทำให้ปลาปล้องอ้อยเป็น

ปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีความต้องการซื้อมากในตลาด

ปลาสวยงาม แต่ในปัจจุบันปลาปล้องอ้อยมีจำนวนลดลงมากจนหาได้ยากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากปลาชนิดนี้ยังไม่

สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ ปลาที่ขายในประเทศและส่งออกทั้งหมดเป็นปลาที่รวบรวมจากธรรมชาติ การจับปลา

ที่มากเกินกำลังผลิตในธรรมชาติ ประกอบกับถิ่นที่อยู่อาศัยที่ลดลง สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงและ

เสื่อมโทรม ทำให้ปริมาณปลาในธรรมชาติลดลง ส่งผลให้ปริมาณการค้าขายปลาปล้องอ้อยจึงลดลงด้วย

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสตูล ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม แผนการขับเคลื่อน

ปลาสวยงาม ประจำปีงบประมาณ 2564 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) เพื่อศึกษาวิจัยการเพาะพันธุ์และ

อนุบาลปลาปล้องอ้อย จนประสบความสำเร็จ สามารถเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาปล้องอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จึงได้รวบรวม ความรู้ เทคนิค และวิธีการ จัดทำเป็นคู่มือการเพาะพันธุ์และปลาปล้องอ้อยฉบับนี้ เพื่อเผยแพร่

สู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเกษตรกรและผู้สนใจเพาะเลี้ยงปลาปล้องอ้อย ซึ่งจะส่งผลให้มีการเพาะเลี้ยงอย่าง

แพร่หลาย เพิ่มผลผลิตปลาปล้องอ้อยเพียงพอต่อความต้องการของตลาด สร้างความเข้มแข็งในธุรกิจปลาสวยงาม

ของประเทศได้อย่างยั่งยืน และลดปริมาณการจับจากธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่นมิให้สูญพันธุ์ต่อไป

P:04

สารบัญ

หน้า

1. ชีววิทยาปลาปล้องอ้อย 1

1.1 การจำแนกทางอนุกรมวิธาน 1

1.2 ชีววิทยาและนิเวศวิทยา 1

2. การจัดการพ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อย 3

2.1 พ่อแม่พันธุ์ 3

2.2 การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ 4

3. การเพาะพันธุ์ปลาปล้องอ้อย 7

3.1 การเตรียมโรงเพาะฟัก ตู้เพาะฟัก และอุปกรณ์ 7

3.2 การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลา 9

3.3 ฮอร์โมนและอัตราความเข้มข้นของฮอร์โมน 10

3.4 การฉีดฮอร์โมน 11

3.5 การผสมพันธุ์ปลาโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ 12

3.6 การฟักไข่ 14

4. การอนุบาลลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อน 15

4.1 การเตรียมโรงเรือน ตู้อนุบาล และอุปกรณ์ 15

4.2 การเตรียมลูกปลาและอัตราการปล่อย 16

4.3 อาหารและการให้อาหาร 16

4.4 การจัดการระหว่างการอนุบาล 20

4.5 ระยะเวลาการอนุบาลและผลผลิตลูกปลาปล้องอ้อย 20

5. ต้นทุนการผลิต 21

6. โรคและการป้องกันรักษาโรค 22

6.1 โรคตัวเปื่อย 22

6.2 โรคพยาธิปลิงใส 23

6.3 การป้องกันโรคปลาปล้องอ้อย 24

7. เอกสารอ้างอิง 25

P:05

1

1. ชีววิทยาปลาปล้องอ้อย

1.1 การจำแนกทางอนุกรมวิธาน

Kingdom : Animalia

Phylum : Chordata

Class : Actinopterygii

Order : Cypriniformes

Family : Cobitidae

Subfamily : Cobitinae

Genus : Pangio (Blyth, 1860)

Species : Myersi (Harry, 1949)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangio myersi (Harry, 1949)

ชื่อสามัญ : Giant Kuhli Loach

ภาพที่ 1 ปลาปล้องอ้อย Giant Kuhli Loach, Pangio myersi (Harry, 1949)

1.2 ชีววิทยาและนิเวศวิทยา

1.2.1 ลักษณะและรูปร่าง

ปลาปล้องอ้อย Giant Kuhli Loach, Pangio myersi (Harry, 1949) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก

จัดอยู่ในวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae) เช่นเดียวกับ ปลาค้อ และปลารากกล้วย ลักษณะทั่วไป ปลาปล้องอ้อย

มีรูปร่างเรียวยาว (elongated shape) ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากชนิดอื่น คือ ลำตัวมีสีพื้นเป็นสีส้มและมีแถบ

สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่พาดขวางลำตัวจำนวน 8-11 แถบ (Kottelat and Lim, 1993)

ปากอยู่ด้านล่างยืดหดได้เล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ 4 คู่ อยู่บริเวณขากรรไกรบน 2 คู่ บริเวณขากรรไกรล่าง 1 คู่

และบริเวณจมูก 1 คู่ มีเกล็ดแบบ cycloid ขอบเกล็ดเรียบมีลักษณะ บางใส เกล็ดมีขนาดเฉลี่ย 0.22 มิลลิเมตร

ไม่มีเส้นข้างลำตัว ลักษณะฟันเป็นฟันละเอียดขนาดเล็ก (villiform) อยู่บริเวณเพดานบน ตามีขนาดเล็กและมี

P:06

2

หนังหุ้มตา ที่กระพุ้งแก้มมีหนามอยู่ในแอ่งบริเวณหลังตาข้างละ 1 อัน ส่วนใหญ่มีความยาว 5-8 เซนติเมตรและน้ำหนัก

0.80-1.80 กรัม ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร (seriouslyfish.com, 2019)

ความแตกต่างระหว่างเพศ สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเพศได้โดยดูจากลักษณะภายนอก

ซึ่งสามารถเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนในช่วงฤดูวางไข่ โดยทั่วไปแล้วปลาเพศเมียที่โตเต็มวัยมีขนาดใหญ่และหนักกว่า

เพศผู้เล็กน้อย ลำตัวกว้าง ท้องอูม และเห็นรังไข่สีเขียว ส่วนเพศผู้มีลำตัวแคบและขนาดเล็กกว่าเพศเมีย

มีกล้ามเนื้อส่วนหลัง และครีบอกที่ใหญ่กว่าเพศเมีย (thefishdoctor.co.uk, 2015)

ภาพที่ 2 ความแตกต่างระหว่างเพศของปลาปล้องอ้อย

1.2.2 การแพร่กระจายพันธุ์และแหล่งที่อยู่อาศัย

การแพร่กระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัด โดยพบมากในพื้นที่ภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช

ตรัง สตูล และในภาคตะวันออกพบที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด (กาญจนา และพิสิฐ, 2547)

แหล่งที่อยู่อาศัย ปลาปล้องอ้อยอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำตื้นความลึกเฉลี่ย 22.81 เซนติเมตร เป็น

แหล่งน้ำไหลเอื่อยและเป็นน้ำอ่อนที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างค่อนข้างต่ำ pH 4.7-7.5 พื้นเป็นดินทราย มีการทับ

ถบของใบไม้ กิ่งไม้ หรือบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น โดยซ่อนตัวอยู่ใต้รากไม้ ขอนไม้และใบไม้แห้ง

1.2.3 อาหารและการกินอาหาร

ปลาปล้องอ้อยจัดเป็นปลากินเนื้อ โดยมีสัดส่วนความยาวเหยียดของลำตัวต่อความยาวลำไส้ เท่ากับ

1:0.54 อัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1.10 (กาญจนา และพิสิฐ, 2547) อาหารของปลาปล้องอ้อย

เป็นแพลงก์ตอน ไรน้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ (สุจินต์ และอรุณี, 2552) และสัตว์หน้าดิน เช่น หนอนแดง รวมทั้งเศษซาก

เน่าเปื่อย โดยออกหากินอาหารที่จมอยู่ตามพื้นในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมีนิสัยชอบหลบซ่อนอยู่ใต้ใบไม้และ

จากการศึกษาองค์ประกอบของอาหารในกระเพาะอาหารที่มีรูปร่างเป็นถุงตรง ประกอบด้วยแพลงก์ตอนสัตว์

ร้อยละ 35.80 ตัวอ่อนแมลงร้อยละ 25.50 อินทรีย์วัตถุเน่าเปื่อยและอื่น ๆ ร้อยละ 38.70 (ศูนย์วิจัยและ

พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตราด, 2562)

1.2.4 ชีววิทยาการสืบพันธุ์

การศึกษาฤดูวางไข่ พบว่าปลาปล้องอ้อยสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยวางไข่สูงสุดอยู่ 2 ช่วงคือ

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และเดือนพฤศจิกายน การศึกษาการเจริญเติบโต พบว่าปลาปล้องอ้อย

เจริญเติบโตเร็วมากในช่วงปีแรก ผลจากการประมาณค่าอายุและความยาวปลา พบว่าปลาปล้องอ้อยในแหล่งน้ำ

เพศเมีย เพศผู้

P:07

3

ธรรมชาติต้องใช้เวลาประมาณ 9 เดือน จึงสามารถเจริญเติบโตจนถึงขนาด 6.70 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาด

แรกเริ่มเจริญพันธุ์ของปลาปล้องอ้อยเพศเมีย (กาญจนา และพิสิฐ, 2547)

ความดกของไข่ เมื่อเก็บตัวอย่างปลาปล้องอ้อยที่มีความสมบูรณ์เพศมาศึกษาความดกของไข่จำนวน

10 ตัว พบว่าแม่พันธุ์ปลาตัวอย่างมีความยาวเฉลี่ย 8.02±0.21 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 2.08±0.18

กรัม น้ำหนักไข่ต่อแม่เฉลี่ย 0.5071±0.0330กรัม จำนวนไข่ต่อแม่เฉลี่ย 2,624.43±163.57 ฟอง

ภาพที่ 3 ความดกไข่ของปลาปล้องอ้อย และลักษณะไข่ที่แก่พร้อมวางไข่

2. การจัดการพ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อย

2.1 พ่อแม่พันธุ์

2.1.1 แหล่งพ่อแม่พันธุ์

พ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อยที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ได้มาจากการรวบรวบจากแหล่งน้ำธรรมชาติใน

จังหวัดสตูล เป็นแหล่งน้ำไหลเอื่อยเช่น ลำห้วย ที่มีใบไม้ทับถม พรรณไม้น้ำ หญ้าหรือวัชพืชขึ้นหนาแน่น ซึ่งมีอยู่ใน

ทุกอำเภอของจังหวัดสตูล พบมากที่ อำเภอละงู อำควนกาหลง อำเภอมะนัง อำเภอท่าแพ และอำเภอควนโดน

ภาพที่ 4 การรวบรวมปลาปล้องอ้อยจากแหล่งน้ำธรรมชาติในจังหวัดสตูล

P:08

4

2.1.2 อายุและขนาดพ่อแม่พันธุ์

ปลาปล้องอ้อยในแหล่งน้ำธรรมชาติอายุประมาณ 9 เดือน มีขนาด 6.70 เซนติเมตร ซึ่งเป็น

ขนาดแรกเริ่มเจริญพันธุ์ของปลาปล้องอ้อยเพศเมีย (กาญจนา และพิสิฐ, 2547) สำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่ใช้ใน

การเพาะพันธุ์ในโครงการวิจัยเป็นพันธุ์ปลาที่รวบรวมจากธรรมชาติ (wild type) แล้วนำมาเลี้ยงในบ่อคอนกรีตเป็น

ระยะเวลา 5 เดือน จนมีความสมบูรณ์เพศและมีขนาดดังนี้

- พ่อพันธุ์ปลาปล้องอ้อยมีความยาวเฉลี่ย 7.90+0.29 เซนติเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ย 1.73+0.19 กรัม

- แม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อยมีความยาวเฉลี่ย7.94+0.34เซนติเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ย2.09+0.21กรัม

ภาพที่ 5 พ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อยจากแหล่งน้ำธรรมชาติในจังหวัดสตูล

2.2 การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์

2.2.1 การเตรียมโรงเรือน

- โรงเรือนสำหรับเลี้ยงปลาปล้องอ้อย ควรมีหลังคาคลุมและใช้ตาข่ายพรางแสง 80 เปอร์เซ็นต์

ปิดด้านข้างเพื่อลดปริมาณแสงในโรงเรือน เนื่องจากปลาปล้องอ้อยมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง

ภาพที่ 6 โรงเรือนสำหรับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อย

2.2.2 คุณสมบัติน้ำและการเตรียมน้ำ

ปลาปล้องอ้อยเป็นปลาที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี ดังนั้นในการเลี้ยงจึงสามารถ

ใช้น้ำที่มีคุณสมบัติทั่วไปได้โดยไม่จำเป็นต้องปรับคุณภาพน้ำ แต่ควรเตรียมน้ำให้สะอาดโดยการใส่คลอรีนเพื่อ

ฆ่าเชื้อโรคและปรสิตที่อยู่ในน้ำ ในอัตรา 10-30 ppm. (10-30 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน) พักน้ำในบ่อพักน้ำและให้

พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์

P:09

5

อากาศตลอดเวลา 3-5 วัน จนคลอรีนระเหยหมดจึงสามารถนำมาใช้เลี้ยงปลาได้ หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำ

อย่างเร่งด่วนให้กำจัดคลอรีนโดยใช้โซเดียมไธโอซัลเฟตเท่ากับปริมาณคลอรีนที่ใช้

2.2.3 การเตรียมบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์

ใช้บ่อคอนกรีตกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร เติมน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนและกรอง

ผ่านผ้ากรองละเอียดเพื่อป้องกันปรสิตและเชื้อโรค ให้ได้ระดับน้ำลึก 20-25 เซนติเมตร สร้างสภาพแวดล้อม

เลียนแบบธรรมชาติโดยใส่แผ่นกระเบื้องมุงหลังคา 2แผ่น และใส่ใบหูกวางแห้งบ่อละ 20 ใบ เพื่อเป็นที่หลบซ่อน

รวมทั้งใบหูกวางยังมีสารแทนนิน 12.67 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับคุณภาพน้ำและลดปริมาณแบคทีเรีย

ที่ปนเปื้อนในน้ำ (พรพิมล และคณะ, 2560) และให้อากาศผ่านท่อตลอดเวลา

ภาพที่ 7 การเตรียมบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อย

2.2.4 การปล่อยและอัตราการปล่อย

ในกรณีที่รวบรวมปลาจากธรรมชาติมาเลี้ยง ก่อนปล่อยปลาควรแช่ปลาด้วยฟอร์มาลิน 100 ppm.

เป็นเวลา 10 นาทีเพื่อกำจัดเชื้อโรคและปรสิตที่อาจติดมากับปลา และควรปรับอุณหภูมิน้ำในถุงให้ใกล้เคียง

กับน้ำในบ่อ โดยนำถุงปลาแช่ในบ่อ20-30 นาที แล้วจึงปล่อยปลาในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร

หรือ 157 ตัวต่อบ่อ

ภาพที่ 8 การปล่อยปลาปล้องอ้อยลงบ่อเลี้ยง

2.2.5 อาหารและการให้อาหาร

ฝึกให้ปลากินอาหารสำเร็จรูปชนิดเกล็ดจมน้ำ โปรตีนไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ (อาหารกุ้งทะเล

เบอร์ 2) ในอัตรา 2-3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน วันละ 1 ครั้ง เวลา 18.00 น. เนื่องจากปลาปล้องอ้อย

P:10

6

ออกจากที่หลบซ่อนเพื่อหากินอาหารในเวลากลางคืน และเสริมด้วยไรแดงหรือหนอนแดงที่ฆ่าเชื้อโรคและ

ปรสิตด้วยด่างทับทิมความเข้มข้น 100 ppm. นาน 5 นาที (สุปราณีและคณะ, 2543) ก่อนนำมาใช้เป็นอาหาร

สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

ภาพที่ 9 อาหารสำเร็จรูปชนิดเกล็ดจมน้ำ โปรตีนไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ (อาหารกุ้งทะเลเบอร์ 2)

ภาพที่ 10 ไรแดงและหนอนแดงที่ใช้เป็นอาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์

2.2.6 การจัดการระหว่างการเลี้ยง

- ตรวจสุขภาพปลาทุกวัน โดยวิธีการสังเกตลักษณะภายนอก การว่ายน้ำ การกินอาหาร

เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคสัตว์น้ำที่อาจเกิดกับปลาได้

- ตรวจความสมบูรณ์เพศของปลาเดือนละ 2 ครั้ง โดยวิธีการสังเกตลักษณะภายนอก แม่พันธุ์

ปลาที่มีไข่แก่บริเวณท้องมีสีเขียว อูมเป่ง และนิ่ม

- ดูดตะกอนและเปลี่ยนถ่ายน้ำ ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เดือนละ 2 ครั้ง

ภาพที่ 11 การจัดการระหว่างการเลี้ยง

P:11

7

2.2.7 ระยะเวลาในการเลี้ยง

ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 5 เดือน พ่อแม่พันธุ์ปลาสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใน

บ่อเลี้ยงและกินอาหารได้ดี รวมทั้งมีความสมบูรณ์เพศสามารถคัดเลือกแม่พันธุ์ที่มีไข่แก่และพ่อพันธุ์ที่สมบูรณ์

แข็งแรงเพื่อนำไปเพาะพันธุ์ได้

ภาพที่ 12 การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่สมบูรณ์เพศ

3. การเพาะพันธุ์ปลาปล้องอ้อย

3.1 การเตรียมโรงเพาะฟัก ตู้เพาะฟัก และอุปกรณ์

3.1.1 โรงเพาะฟัก

โรงเพาะฟักควรเป็นห้องที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันสิ่งรบกวน และลดปริมาณแสงสว่าง

โดยใช้ตาข่ายพรางแสง 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปลาปล้องอ้อยมีนิสัยไม่ชอบแสงและชอบหลบในที่มืด

3.1.2 ตู้เพาะฟัก

- ใช้ตู้กระจกขนาด 45x45x45 เซนติเมตร จำนวน 16 ตู้ เจาะรูระบายน้ำออกที่ระดับน้ำสูง 30

เซนติเมตร

- ใส่ตะแกรงผ้าโอล่อนแก้วปิดท่อระบายน้ำออกเพื่อป้องกันไข่ปลาและลูกปลาหลุดออกจากตู้

- ติดตั้งระบบน้ำหมุนเวียน

- ใส่แผ่นตะแกรงผ้าโอล่อนแก้วรูปสี่เหลี่ยมขนาด 44x44 เซนติเมตร ในระดับสูงจากพื้นตู้กระจก

5 เซนติเมตร เพื่อรองรับไข่ปลา

- ใส่กระชังพลาสติกสีเขียวขนาด 35x35x28 เซนติเมตร และมีขนาดช่องตา 0.30 เซนติเมตร

สำหรับใส่พ่อแม่พันธุ์ปลาเพื่อป้องกันพ่อแม่พันธุ์กินไข่ตัวเอง และสามารถนำพ่อแม่พันธุ์ปลาออกจากตู้ได้สะดวก

- ใส่หัวทรายให้อากาศจำนวน 1 หัว ต่อตู้ เปิดอากาศให้แรงตลอดเวลา

P:12

8

ภาพที่ 13 การเตรียมตู้กระจกและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาปล้องอ้อย

3.1.3 ระบบน้ำหมุนเวียน

เป็นระบบที่เลียนแบบการไหลของน้ำในธรรมชาติและช่วยให้คุณสมบัติน้ำในตู้เพาะฟักมีความ

เหมาะสม ส่งผลให้การเพาะพันธุ์ประสบความสำเร็จ ไข่ปลามีอัตราการปฏิสนธิ อัตราการฟัก และอัตราการรอด

ตายที่ดีซึ่งประกอบด้วย

- ระบบกรองน้ำ ใช้ระบบกรองน้ำแบบกายภาพและชีวภาพขนาด 1.2x1.5x0.7 เมตร ประกอบด้วย

บ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อกรอง 3 บ่อ และบ่อพักน้ำ 1 บ่อ โดยใช้ตัวกรองชีวภาพที่มีพื้นที่ผิวมากเพื่อให้

แบคทีเรียที่ช่วยในการบำบัดน้ำเจริญเติบโตเกาะที่ผิวของวัสดุ ได้แก่ ตาข่ายพรางแสง หินภูเขาไฟ ทรายหยาบ

และทรายละเอียด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำสามารถลดแอมโมเนีย(ชลฤทัยและคณะ,2564) ใส่จุลินทรีย์

ปม. 1 ที่ประกอบด้วยแบคทีเรียในกลุ่ม Bacillus 3 ชนิด คือ B. subtilis, B. megaterium และ B. licheniformis

ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ผ่านการคัดเลือกแล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ตกค้างในบ่อ

(ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุพรรณบุรี, 2564)

ภาพที่ 14 ระบบกรองน้ำแบบกายภาพและชีวภาพ

- เครื่องสูบน้ำ ใช้เครื่องสูบน้ำแบบจุ่ม (ไดโว่) ขนาด 1 นิ้ว สูบน้ำให้ไหลผ่านตู้เพาะฟักในอัตรา

2 ลิตรต่อนาทีโดยติดตั้งในบ่อพักน้ำแล้วดูดน้ำส่งไปตามระบบท่อ

- ระบบท่อหมุนเวียนน้ำใช้ท่อพีวีซีติดตั้งเป็นระบบน้ำหมุนเวียนผ่านตู้เพาะฟักและไหลเข้าสู่

ระบบกรองน้ำ

P:13

9

ภาพที่15 แผนผังตู้เพาะฟักและระบบน้ำหมุนเวียนที่ใช้ในการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลาปล้องอ้อย

ภาพที่ 16 ชุดทดลองและระบบน้ำหมุนเวียนที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาปล้องอ้อย

3.1.4 ระบบการเติมอากาศ

ควรใช้เครื่องเติมอากาศ (Air Blower) ที่ให้อากาศที่แรงพอ และควรมีเครื่องสำรองในกรณี

ไฟฟ้าดับ หรือใช้เครื่องแบบ 2 ระบบ ที่มีแบตเตอรี่ในตัว ซึ่งสามารถที่ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

3.2 การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลา

3.2.1 คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่สมบูรณ์เพศ

คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่สมบูรณ์เพศโดยสังเกตจากลักษณะภายนอก พ่อพันธุ์ปลาคัดเลือกตัวที่

สมบูรณ์แข็งแรงมองเห็นมัดกล้ามเนื้อส่วนหลังชัดเจน และอวัยวะเพศเป็นติ่งเรียวแหลม แม่พันธุ์ปลาที่มีไข่แก่

บริเวณท้องมีสีเขียว อูมเป่ง และนิ่ม ผิวหนังบริเวณท้องโปร่งบางจนมองเห็นไข่อวัยวะเพศกลมรี มีสีชมพูอมแดง

P:14

10

ภาพที่ 17 ลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อยที่มีความสมบูรณ์เพศ

ภาพที่ 18 ลักษณะอวัยวะเพศของปลาปล้องอ้อยเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์เพศ

3.2.2 ทำให้ปลาสลบก่อนโดยใช้น้ำมันกานพลู

การเตรียมน้ำมันกานพลูโดยผสมน้ำมันกานพลูกับเอทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1 : 9 แล้วนำ

น้ำมันกานพลูที่ผสมแล้วไปใช้สลบปลา โดยเตรียมน้ำใส่ในโหลแก้ว 200 มิลลิลิตร ใส่น้ำมันกานพลู20 หยด

นำพ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อยลงไปแช่ทำให้ปลาสลบภายใน 30 วินาที

3.2.3 ชั่งน้ำหนักพ่อแม่พันธุ์ปลาแต่ละตัวเพื่อนำไปคำนวณหาปริมาณฮอร์โมนที่ต้องฉีด

3.3 ฮอร์โมนและอัตราความเข้มข้นของฮอร์โมน

3.3.1 ฮอร์โมนและอุปกรณ์ในการฉีด ประกอบด้วย

อวัยวะเพศปลาเพศผู้

อวัยวะเพศปลาเพศเมีย

พ่อพันธุ์ปลาปล้องอ้อย

แม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อย

P:15

11

- ฮอร์โมนสังเคราะห์ Buserelin acetate (Bus) มีชื่อทางการค้าว่า ซูพรีแฟคท์ (Suprefact)

หรือ ซินนาแฟค-อี (Cinnafact-E) ขนาดบรรจุ 10 มิลลิลิตร มีความเข้มข้นของ ฮอร์โมน Buserelin acetate

15,000 ไมโครกรัม

- ยาเสริมฤทธิ์ใช้ยา Domperidone (Dom) หรือมีชื่อทางการค้าว่า Motilium M

- ครกบดยา

- เข็มฉีดยา ใช้เข็มขนาดเล็ก (เข็มฉีดอินซูลิน) เบอร์ 29 G (0.33X13 มิลลิเมตร)

- น้ำกลั่น

ภาพที่ 19 ฮอร์โมนและอุปกรณ์ในการฉีด

3.3.2 อัตราความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ใช้ในการกระตุ้นการผสมพันธุ์วางไข่ของปลาปล้องอ้อย

ต้องใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ Buserelin acetate (Bus) ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ Domperidone (Dom) ดังนี้

- แม่พันธุ์ปลา ฉีดกระตุ้นด้วย Bus ในอัตราความเข้มข้น 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ Dom 10

มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

- พ่อพันธุ์ปลา ฉีดกระตุ้นด้วย Bus ในอัตราความเข้มข้น 10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ Dom 10

มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

3.4 การฉีดฮอร์โมน

3.4.1 นำปลาที่สลบแล้วใส่ในถุงพลาสติกใส เพื่อป้องกันความบอบช้ำจากการใช้มือสัมผัสตัวปลา

โดยตรงและทำให้ฉีดปลาได้ง่ายขึ้น

3.4.2 วิธีการฉีดฮอร์โมน ใช้เข็มฉีดอินซูลิน ขนาด 1 มิลลิลิตร เบอร์ 29 G (0.33X13 มิลลิเมตร)

ดูดสารละลายฮอร์โมนแล้วฉีดผ่านถุงพลาสติกใสเข้ากล้ามเนื้อบริเวณโคนครีบหลังของตัวปลา ในขั้นตอนนี้ต้องใช้

ความชำนาญและจำเป็นต้องใช้แว่นขยาย เนื่องจากปลาปล้องอ้อยมีขนาดเล็กจึงต้องใช้ความละเอียดสูง และ

ปริมาณสารละลายฮอร์โมนที่ฉีดแต่ละตัวไม่เกิน 0.02 มิลลิลิตร เพื่อป้องกันความบอบช้ำจากการได้รับสารละลาย

ฮอร์โมนเข้าร่างกายมากเกินไป

P:16

12

ภาพที่ 20 การฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์กระตุ้นให้พ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อยผสมพันธุ์วางไข่

3.4.3 การทำให้ปลาฟื้นจากการสลบ หลังจากการฉีดฮอร์โมนแล้วจึงทำให้ปลาฟื้นจากการสลบ

โดยปล่อยในโหลแก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร สูง 17 เซนติเมตร ใส่น้ำ 500 มิลลิลิตร และใส่ยา

เหลืองเพื่อรักษาแผลและป้องกันการติดเชื้อความเข้มข้น 3 ppm. และให้อากาศจนปลาว่ายน้ำได้แข็งแรง

ภาพที่ 21 การทำให้ปลาฟื้นจากการสลบ

3.5 การผสมพันธุ์ปลาโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ

นำพ่อแม่พันธุ์ปลาที่ผ่านการฉีดฮอร์โมนและฟื้นจากการสลบจนแข็งแรงดีแล้ว ปล่อยลงในกระชัง

พลาสติกที่ลอยอยู่ในตู้เพาะฟัก ในอัตราส่วนแม่พันธุ์ต่อพ่อพันธุ์ เท่ากับ 1 ต่อ 4 ตัวต่อตู้ เปิดระบบน้ำหมุนเวียน

ไหลผ่านตู้ในอัตรา 2 ลิตรต่อนาทีเปิดอากาศให้แรงตลอดเวลา แล้วปล่อยให้ปลาผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ

P:17

13

ภาพที่ 22 การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาปล้องอ้อยลงตู้เพาะพันธุ์

พฤติกรรมการผสมพันธุ์วางไข่ของปลาปล้องอ้อย หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงตู้เพาะพันธุ์ประมาณ

8 ชั่วโมง พ่อแม่พันธุ์เริ่มเกี้ยวพาราสีกัน โดยว่ายน้ำคลอเคลียกันแล้วปลาเพศผู้ใช้ลำตัวรัดปลาเพศเมียที่บริเวณผิว

น้ำแล้วปล่อยไข่ออกมาผสมกับน้ำเชื้อครั้งละ 30-50 ฟอง และผสมพันธุ์กันไปเรื่อย ๆ จนวางไข่หมด โดยมี

จำนวนไข่ต่อแม่เฉลี่ย 2,624 ฟอง รวมใช้เวลาในการผสมพันธุ์ประมาณ 4-5 ชั่วโมง ดังนั้นในการเพาะพันธุ์

ปลาปล้องอ้อยจึงควรใช้อัตราส่วนเพศผู้ที่มากกว่าเพศเมียซึ่งจะทำให้อัตราการวางไข่และอัตราการปฏิสนธิเพิ่มมากขึ้น

ภาพที่ 23 พฤติกรรมการผสมพันธุ์วางไข่ของปลาปล้องอ้อย

ลักษณะของไข่ปลาปล้องอ้อย เป็นไข่ประเภทจมติดวัสดุแต่มีความเหนียวไม่มาก มีรูปร่างกลม

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 0.92±0.05 มิลลิเมตร ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วมีสีเขียว ใส ส่วนไข่ที่ไม่สมบูรณ์

และไม่ได้รับการปฏิสนธิมีลักษณะสีขาวขุ่น ทึบแสง เมื่อแม่ปลาวางไข่ออกมาแล้วไข่จะร่วงผ่านกระชังพลาสติก

ลงมากระจายติดอยู่บนตะแกรงผ้าโอล่อนแก้วที่วางรองรับไข่อยู่ที่พื้นตู้กระจก

P:18

14

ภาพที่ 24 ลักษณะไข่ปลาปล้องอ้อยที่เป็นไข่จมติดวัสดุและกระจายอยู่บนตะแกรงผ้าโอล่อนแก้ว

3.6 การฟักไข่

เมื่อแม่ปลาวางไข่หมดแล้วเอากระชังพลาสติกและพ่อแม่พันธุ์ปลาออกจากตู้เพาะฟัก และทำการ

ฟักไข่ปลาในตู้ต่อไปโดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียนในอัตรา 2 ลิตรต่อนาทีจนฟักเป็นตัว ใช้ระยะเวลาประมาณ 15-16

ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 25.0-28.0 องศาเซลเซียส

ภาพที่ 25 การฟักไข่ในตู้กระจกที่ใช้เพาะพันธุ์โดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียน

ลูกปลาปล้องอ้อยแรกฟักมีความยาว 1.59 มิลลิเมตร ส่วนหัวติดกับถุงอาหารสำรองสีเขียวอ่อน

ขนาดใหญ่ ปากยังไม่เปิด ลำตัวใส เห็นมัดกล้ามเนื้อชัดเจน ในช่วง 1 วันแรกลูกปลายังว่ายน้ำไม่ได้ โดยนอนนิ่ง

อยู่ตามพื้นตู้ เมื่ออายุ 2 วัน เริ่มเคลื่อนที่ไปตามพื้นตู้บ้างเป็นครั้งคราว เมื่ออายุ 3 วัน ถุงไข่แดงยุบและเริ่มหากิน

อาหารตามพื้นตู้โดยมีขนาดปากกว้าง 0.37 มิลลิเมตร หลังจากนั้นมีการพัฒนาอวัยวะต่างๆ และเกิดแถบสีดำข้าง

ตัวจนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยเมื่ออายุ 50 วัน

ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ

ไข่ที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ

P:19

15

ภาพที่ 26 ลูกปลาปล้องอ้อยแรกฟัก

4. การอนุบาลลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อน

4.1 การเตรียมโรงเรือน ตู้อนุบาล และอุปกรณ์

4.1.1 โรงเรือน

ควรเป็นห้องที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันสิ่งรบกวน และลดปริมาณแสงสว่างโดยใช้ตาข่ายพรางแสง 80

เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปลาปล้องอ้อยมีนิสัยไม่ชอบแสงและชอบหลบในที่มืด หากมีแสงสว่างมากเกินไปลูกปลา

จะหลบซ่อนรวมกันเป็นกลุ่มและไม่กินอาหารในเวลากลางวัน ทำให้โตช้า

4.1.2 ตู้อนุบาล

ใช้ตู้กระจกขนาด 45x45x45 เซนติเมตร จำนวน 16 ตู้ เจาะรูระบายน้ำออกที่ระดับน้ำสูง

30 เซนติเมตร ใช้ระบบน้ำหมุนเวียนที่มีระบบกรองแบบกายภาพและชีวภาพ มีการไหลเวียนของน้ำผ่านตู้ใน

อัตรา2 ลิตรต่อนาที ใส่ตะแกรงผ้าโอล่อนแก้วปิดท่อระบายน้ำออกเพื่อป้องกันลูกปลาหลุดออกจากตู้ทดลอง

และให้อากาศผ่านหัวทรายจำนวน 1 หัว

ภาพที่ 27 ตู้กระจกและระบบน้ำหมุนเวียนที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อน

1 มม.

P:20

16

4.2 การเตรียมลูกปลาและอัตราการปล่อย

ใช้ลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อนระยะแรก (Larva stage) อายุ 3 วัน ที่ถุงอาหารสำรองยุบหมดและ

เริ่มกินอาหารได้แล้ว นับจำนวนลูกปลาลงอนุบาลในตู้ จำนวน 200 ตัวต่อตู้หรือ 1,000 ตัวต่อตารางเมตร

ภาพที่ 28 ลูกปลาปล้องอ้อยอายุ 3 วัน ที่ใช้ในการอนุบาลในตู้กระจก

4.3 อาหารและการให้อาหาร

4.3.1 ชนิดของอาหาร

จากการศึกษา พบว่าลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อนจัดเป็นปลากินเนื้อที่ต้องการอาหารโปรตีนสูง และ

มีพฤติกรรมการหากินอาหารที่พื้นตู้เท่านั้น อาหารที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาจึงต้องเป็นอาหารจม และ

มีขนาดเหมาะสมกับขนาดปากของลูกปลา โดยแบ่งการอนุบาลออกเป็น 2 ระยะ ตามช่วงอายุ ดังนี้

การอนุบาลลูกปลาในช่วงอายุ 3-30 วัน เป็นระยะที่ลูกปลาปล้องอ้อยเริ่มกินอาหาร ขนาดปากกว้าง

0.37 มิลลิเมตร เลือกอาหารที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดปากและจมอยู่ที่พื้นตู้ ซึ่งอาหารที่เหมาะสมที่สุด คือ

อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง แต่อาจใช้ไรแดงวัยอ่อนแช่แข็ง หรือ หนอนจิ๋วมีชีวิต(Micro worm) ทดแทนกันได้แต่

ทำให้อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายต่ำกว่าการใช้อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง ตามลำดับ

ภาพที่ 29 ขนาดของอาร์ทีเมียวัยอ่อน ไรแดงวัยอ่อน และหนอนจิ๋ว เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดปากของ

ลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อน

ไรแดงวัยอ่อน

อาร์ทีเมียวัยอ่อน

หนอนจิ๋ว

P:21

17

การอนุบาลลูกปลาในช่วงอายุ 31-60 วัน ลูกปลามีขนาดปากกว้าง 0.65 มิลลิเมตร สามารถกิน

อาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ จึงปรับเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดเกล็ดจมน้ำโปรตีนไม่น้อยกว่า

40 เปอร์เซ็นต์ (อาหารกุ้งทะเล เบอร์ 1) เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูง ลักษณะอาหารที่จมกระจายอยู่ที่พื้น

และสามารถคงสภาพอยู่ในน้ำได้นาน จึงเป็นอาหารที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการกินอาหารของลูกปลาปล้องอ้อย

นอกจากนี้ยัง สะดวกต่อการปฏิบัติงาน และการเก็บรักษา

4.3.2 การเตรียมอาหาร

- อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง นำไข่อาร์ทีเมียมาฟักในถังไฟเบอร์โดยใช้น้ำทะเลความเค็ม 30 ppt.

ให้อากาศตลอดเวลาเป็นเวลา 12-14 ชั่วโมง ก่อนทำการแยกเปลือกไข่ออกแช่ด้วยฟอร์มาลิน 100 ppm.

นาน 3 ชั่วโมง เพื่อกำจัดปรสิตและเชื้อโรคในถังเพาะฟักก่อน (นพดล, 2550) ทำการเก็บโดยใช้สวิงหรือถุง

กรองขนาดตา 100-150 ไมครอน กรองรวบรวมเฉพาะตัวอ่อนแล้วนำตัวอาร์ทีเมียวัยอ่อนที่รวบรวมได้ไปใส่สวิง

หรือกระชอนขนาดตา230 ไมครอน จากนั้นใช้น้ำเค็มล้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตัวอาร์ทีเมียวัยอ่อนลอดตาสวิงลง

ไปรวมอยู่ในสวิงขนาดตา 100-150 ไมครอน อีกครั้งโดยมีภาชนะใส่น้ำรองรับด้วย ได้อาร์ทีเมียวัยอ่อน (Instar I)

ที่มีขนาดลำตัวกว้างเฉลี่ย 0.22+0.03 มิลลิเมตร ล้างให้สะอาดด้วยน้ำเค็มแล้วซับน้ำออกให้มากที่สุดด้วยผ้าแห้ง

แบ่งใส่ถุงพลาสติกใส ถุงละ 50 กรัม ปิดปากถุงให้แน่นใส่ในกล่องพลาสติกแล้วเก็บรักษาในตู้เย็นที่อุณหภูมิ

–10 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหาร (นุชรี และคณะ, 2551)

ภาพที่ 30 อาร์ทีเมียวัยอ่อนและอาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็งที่ใช้เป็นอาหารลูกปลาปล้องอ้อยอายุ 3-30 วัน

- ไรแดงวัยอ่อนแช่แข็ง ทำการเก็บไรแดงที่เพาะขยายพันธุ์ในบ่อคอนกรีตโดยใช้สวิงหรือถุงกรองขนาดตา

100-150 ไมครอน กรองรวบรวมแล้วนำไรแดงที่รวบรวมได้ไปใส่สวิงขนาดตา 230 ไมครอน จากนั้นใช้น้ำจืด

ล้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ไรแดงวัยอ่อนลอดตาสวิงลงไปรวมอยู่ในสวิงขนาดตา 100-150 ไมครอน อีกครั้ง

โดยมีภาชนะใส่น้ำรองรับด้วย ได้ไรแดงวัยอ่อนที่มีขนาดลำตัวกว้างเฉลี่ย 0.22+0.03 มิลลิเมตร แล้วแช่ฆ่าเชื้อ

ด้วยด่างทับทิมความเข้มข้น 100 ppm. นาน 5 นาที (สุปราณีและคณะ, 2543) ล้างด้วยน้ำจืดให้สะอาดแล้ว

ซับน้ำออกให้มากที่สุดด้วยผ้าแห้ง แบ่งใส่ถุงพลาสติกใสถุงละ 50 กรัม ปิดปากถุงให้แน่นใส่ในกล่องพลาสติกแล้ว

เก็บรักษาในตู้เย็นที่อุณหภูมิ –10 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหาร (นุชรี และคณะ, 2551)

อาร์ทีเมียวัยอ่อน อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง

P:22

18

ภาพที่ 31 ไรแดงวัยอ่อนและไรแดงวัยอ่อนแช่แข็งที่ใช้เป็นอาหารลูกปลาปล้องอ้อยอายุ 3-30 วัน

- หนอนจิ๋ว (Micro worm) ใช้หนอนจิ๋วที่เพาะขยายพันธุ์ โดยใช้ข้าวโอ๊ตหรือขนมปังปอนด์ 1 แผ่น

ใส่ในกระปุกพลาสติกกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ใส่น้ำอุ่น เติมยีสต์ประมาณครึ่งช้อนชา แล้ว

ใส่หัวเชื้อหนอนจิ๋ว ปิดฝากระปุกโดยใช้ฝาปิดที่เจาะรูระบายอากาศและปิดรูที่ฝาด้วยฟองน้ำละเอียดวางภาชนะ

ไว้ที่อุณหภูมิห้อง ทิ้งไว้ประมาณ 2–3 วัน ถ้ามีการเจริญเติบโตจะเห็นหนอนจิ๋วเคลื่อนขึ้นมาที่ขอบภาชนะ

วิธีการเก็บหนอนจิ๋วใช้พู่กันปาดเอาหนอนจิ๋วที่ขึ้นมาที่ขอบกระปุกมาล้างด้วยน้ำจืดให้สะอาดก่อนนำไปใช้

หนอนจิ๋วที่ได้มีขนาดลำตัวกว้าง 0.05+0.01 มิลลิเมตร และมีความยาว 1.10+0.06 มิลลิเมตร

ภาพที่ 32 หนอนจิ๋วที่ใช้เป็นอาหารลูกปลาปล้องอ้อยอายุ 3-30 วัน

- อาหารสำเร็จรูปชนิดเกล็ดจมน้ำ โปรตีนไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ใช้อาหารกุ้งทะเลเบอร์ 1

ทำให้มีความสะดวกต่อการใช้งานและการเก็บรักษา โดยจัดเก็บในภาชนะที่ป้องกันความชื้น

หนอนจิ๋ว

ไรแดงวัยอ่อน ไรแดงวัยอ่อนแช่แข็ง

P:23

19

ภาพที่ 33 อาหารสำเร็จรูปชนิดเกล็ดจมน้ำ โปรตีนไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์

4.3.3 การให้อาหาร

1) การอนุบาลในช่วงอายุ 3-30 วัน ให้อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง ไรแดงวัยอ่อนแช่แข็ง หรือ

หนอนจิ๋วมีชีวิตเป็นอาหารทดแทนกันได้โดยให้อาหารวันละ 4 มื้อ ในเวลา 08.00 น. 12.00 น. 16.00 น. และ20.00 น.

ในปริมาณที่เกินพอหรือมีอาหารให้ลูกปลากินได้ตลอดเวลา

2) การอนุบาลในช่วงอายุ 31-60 วัน ปรับเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดเกล็ดจมน้ำ

โปรตีนไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ (อาหารกุ้งทะเล เบอร์ 1) วันละ 3 มื้อ ในเวลา 08.00 น. 14.00 น. และ 20.00 น.

ในปริมาณที่เกินพอ

ในระหว่างการให้อาหารควรปิดระบบน้ำหมุนเวียนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารจมที่พื้นตู้

ไม่ฟุ้งกระจายไปกับกระแสน้ำ ทำให้ลูกปลาสามารถกินอาหารได้ง่ายและไม่สูญเสียอาหาร

ภาพที่ 34 ลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อนที่อนุบาลในตู้กระจกและพฤติกรรมการกินอาหารที่พื้นตู้กระจก

P:24

20

4.4 การจัดการระหว่างการอนุบาล

4.4.1 ทำการดูดตะกอนในตู้อนุบาลทุกวัน ในเวลา 11.00 น.

4.4.2 เปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้อนุบาลและระบบกรองน้ำ ในปริมาณ 50 เปอร์เซ็นต์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

4.4.3 ตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

4.4.4 ตรวจสุขภาพลูกปลาทุกวัน โดยวิธีการสังเกตลักษณะภายนอก การว่ายน้ำ การกินอาหาร

เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคสัตว์น้ำที่อาจเกิดกับลูกปลาได้

ภาพที่ 35 การจัดการระหว่างการอนุบาล

4.5 ระยะเวลาการอนุบาลและผลผลิตลูกปลาปล้องอ้อย

ใช้เวลาในการอนุบาล 57 วัน ลูกปลามีอายุ 60 วัน ลูกปลาที่อนุบาลด้วยอาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง

ในช่วงอายุ 3-30 วัน มีการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายสูงที่สุด โดยมีความยาวเฉลี่ย 24.79±0.28

เซนติเมตร มีลูกปลาปล้องอ้อยรอดตายเฉลี่ย 185.50+2.08 ตัวต่อตู้คิดเป็นอัตราการรอดตาย 92.75±1.04

เปอร์เซ็นต์ ส่วนลูกปลาที่อนุบาลด้วยไรแดง และหนอนจิ๋วมีขนาดเล็กกว่า โดยมีความยาวเฉลี่ย 20.43±0.62

และ 19.00±0.88 เซนติเมตร ตามลำดับ และอัตราการรอดตายต่ำกว่า 90.63±1.11 และ 59.13±1.49

เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

P:25

21

ภาพที่ 36 ผลผลิตลูกปลาปล้องอ้อยอายุ 60 วัน ขนาดความยาว 19.00-24.79 มิลลิเมตร

ภาพที่ 37 เปรียบเทียบขนาดและลักษณะของลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อนอายุ 60 วัน จากการอนุบาล

ในตู้กระจกโดยให้อาหารที่ต่างกันในช่วงอายุ 3-30 วัน

5. ต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิตลูกปลาปล้องอ้อย ขนาดความยาว 19.00-24.79 มิลลิเมตร จากการอนุบาลด้วย

อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง เป็นระยะเวลา 57 วัน มีต้นทุนการผลิต เท่ากับ 2.45 บาทต่อตัว ส่วนการ

อนุบาลด้วยไรแดงวัยอ่อนแข็งและหนอนจิ๋ว มีต้นทุนสูงขึ้นเป็น 2.48 และ 3.84 บาทต่อตัว ตามลำดับ

เนื่องจากมีอัตราการรอดตายที่ต่ำกว่า โดยต้นทุนการผลิตที่สูงส่วนใหญ่มาจากต้นทุนผันแปร คิดเป็น 80.62เปอร์เซ็นต์

ลูกปลาที่กิน

ไรแดงวัยอ่อนแช่แข็ง

ลูกปลาที่กิน

อาร์ทีเมียวัยอ่อนแช่แข็ง

ลูกปลาที่กิน

หนอนจิ๋ว

P:26

22

ของต้นทุนทั้งหมด โดยมีค่าแรงงานเป็นต้นทุนหลัก รองลงมาคือค่าไฟฟ้า และค่าอาหารปลา ทั้งนี้เนื่องจากการ

อนุบาลในตู้กระจกที่มีระบบน้ำหมุนเวียนต้องใช้แรงงานในการจัดการดูแลอย่างใกล้ชิดทุกวัน และใช้ไฟฟ้าในการ

เปิดระบบน้ำหมุนเวียน รวมทั้งปลาปล้องอ้อยจัดเป็นปลากินเนื้อจึงจำเป็นต้องใช้อาหารที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า

40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีราคาสูง

6. โรคและการป้องกันรักษาโรค

ในการเพาะเลี้ยงปลาปล้องอ้อย โรคที่เกิดกับปลาปล้องอ้อยส่วนใหญ่เกิดจากปรสิตภายนอกที่มา

จากปลาที่รวบรวมจากธรรมชาติ น้ำที่ใช้เลี้ยงปลา และอาหารมีชีวิต ซึ่งมีโรคที่สำคัญดังนี้

6.1 โรคตัวเปื่อย

อาการของโรค

ลูกปลาปล้องอ้อยวัยอ่อนที่เป็นโรค จะโดนปรสิตเกาะกินเจาะผ่านทะลุผิวหนัง ลักษณะผอมซีด

ว่ายน้ำช้าและตายเป็นจำนวนมาก ปลาปล้องอ้อยตัวเต็มวัยจะมีผิวตัวเป็นรอยด่างขาว ตกเลือด เกล็ดหลุด

บางตัวเกิดแผลลึกถึงกล้ามเนื้อ ถ้าอาการโรครุนแรงอาจทำให้ปลาตายในเวลาอันสั้น

ภาพที่ 38 ลักษณะของปลาที่เป็นโรคตัวเปื่อย

สาเหตุการเกิดโรค

เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวชื่อว่า เททราไฮมีนา (Tetrahymena sp.) มีลักษณะเป็นรูปไข่ เคลื่อนที่

ได้รวดเร็ว เปนปรสิตที่กัดกินเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอื่นเปนอาหาร โดยปัจจัยทางสิ่งแวดลอมมีสวนสำคัญอย่างยิ่ง

ต่อความรุนแรงของโรค เชน การติดเชื้อจะสูงขึ้นกรณีที่ปลาอยู่ในน้ำที่มีแอมโมเนียสูง หรือมีอินทรียสารที่

เป็นของเสียมาก หรืออุณหภูมิน้ำต่ำ

แผลเปื่อย รอยด่างขาว เกล็ดหลุด

แผลตกเลือด

P:27

23

ภาพที่ 39 ลักษณะของปรสิตเซลล์เดียวชื่อว่า เททราไฮมีนา (Tetrahymena sp.)

การรักษาโรค

ปลาที่เริ่มติดเชื้อ Tetrahymena sp. ในระยะแรกควรรีบใชฟอรมาลีนในอัตราความเขมข้น

30 ppm.แช่นาน 24 ชั่วโมง แลวเปลี่ยนถ่ายน้ำ ใหทําซ้ำ2 ครั้ง สวนปลาที่ติดเชื้อรุนแรงแลวควรทำลายใหหมด

เพื่อปองกันการแพรกระจาย (นันทริกา, 2553)

6.2 โรคพยาธิปลิงใส (Monogeneasis)

พยาธิปลิงใสเป็นปรสิตภายนอกของปลา ลำตัวใสมีขนาดประมาณ 1.5-5.0 มิลลิเมตร สามารถมองเห็น

โดยผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า มีลำตัวแบนปลายด้านหัวแยกเป็น 2 แฉก หรือ 4 แฉก มีลักษณะ

ค่อนข้างกลม ส่วนท้ายมีอวัยวะช่วยในการยึดเกาะซึ่งเป็นขอหนามใช้ยึดเกาะกับลำตัวของปลาเพื่อกินเซลล์

ผิวหนังและเนื้อเยื่อของปลาเป็นอาหาร มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและมีทั้งแบบออกลูกเป็นไข่และออกลูก

เป็นตัว วงจรชีวิตอยู่ในเจ้าบ้านเพียงชนิดเดียว ตัวอย่างของปรสิตที่เป็นพยาธิปลิงใส เช่น Dactylogyrus sp.

และ Gyrodactyrus sp. เป็นต้น (นันทริกา, 2553)

ภาพที่ 40 ลักษณะของพยาธิปลิงใส

เททราไฮมีนา

ปลิงใส ปลิงใส

P:28

24

อาการของโรค ปลาที่เป็นโรคนี้จะว่ายน้ำผิดปกติ กระวนกระวาย ว่ายน้ำเสียการทรงตัว ลอยตัว

อยู่ตามผิวน้ำ

การรักษาโรค ในปลาขนาดเล็กความยาวไม่เกิน 5 เซนติเมตร ให้ใช้ฟอร์มาลินในอัตราความ

เข้มข้นไม่เกิน 30 ppm. ในปลาปล้องอ้อยขนาดใหญ่ที่มีความยาว 5-10 เซนติเมตร ใช้ฟอร์มาลินในอัตรา

ความเข้มข้น 50 ppm. แช่นาน 24 ชั่วโมง ถ้ายังไม่หายอาจทำซ้ำได้อีก 1-2 ครั้ง (นันทริกา, 2553)

6.3 การป้องกันโรคปลาปล้องอ้อย

- เตรียมน้ำที่ในการเพาะเลี้ยงปลาปล้องอ้อย โดยการใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคและปรสิต ในอัตรา

ความเข้มข้น 30 ppm. (สุปราณีและคณะ, 2543)

- ระบบเพาะเลี้ยงควรใช้ระบบน้ำหมุนเวียนที่มีระบบกรองน้ำเพื่อลดสารอินทรีย์และลด

แอมโมเนียในน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค

- ก่อนการนำปลาจากแหล่งอื่นลงบ่อเลี้ยง ควรควรฆ่าเชื้อโรคและปรสิตที่อาจติดมากับปลา

ก่อน โดยแช่ด้วยฟอร์มาลินในอัตราความเข้มข้น 100 ppm. นาน 10 นาที

- การใช้อาหารมีชีวิต เช่น ไรแดง หนอนแดง อาร์ทีเมีย ควรฆ่าเชื้อโรคและปรสิตที่อาจติดมากับ

อาหารก่อนน้ำมาใช้ โดยแช่ด้วยฟอร์มาลินในอัตราความเข้มข้น 100 ppm. นาน 3 ชั่วโมง (นพดล, 2550) หรือ

ด่างทับทิมในอัตราความเข้มข้น 100 ppm. นาน 5 นาที(สุปราณีและคณะ, 2543)

P:29

25

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา จิรพันธ์พิพัฒน์ และ พิสิฐ ภูมิคง. 2547. ชีววิทยาและการแพร่กระจายของปลาปล้องอ้อย Pangio

kuhlii (Valenciennes, 1846) ในจังหวัดตราด. เอกสารวิชาการฉบับที่ 37/2547. สถาบันวิจัยสัตว์น้ำ

สวยงามและพรรณไม้น้ำ, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, กรมประมง. 38 หน้า.

นพดล ภูวพานิช. 2550. การเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์จากอาร์ทีเมีย. ข่าวสารเกษตรศาสตร์. 52(3) : 12-62

นุชรี ทองศรี, จุฑามาศ ชมภูนิช, จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ และ ชนิกานต์ เชษฐสิงห์. 2551. ผลของการเก็บรักษาไร

แดงต่อการเจริญเติบโตของปลา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 55/2551. สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำจืด,

สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, กรมประมง. 21 หน้า.

นันทริกา ชันซื่อ. 2553. โรคปลา: อายุรศาสตร์และคลินิกปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สานักพิมพ์โฮลิสติก พับลิชชิ่ง,

กรุงเทพฯ. หน้า 125-159.

พรพิมล พิมลรัตน์, นิวุฒิ หวังชัย, สุพันธ์ณี สุวรรณภักดี และพัชราวลัย ศรียะศักดิ์. 2560. สารสกัดแทนนินจากใบ

หูกวาง วิธีการเตรียมอย่างง่ายและการประยุกต์ใช้ในปลาสวยงาม. เอกสารประกอบการฝึกอบรม.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร. 22 หน้า.

สุปราณี ชินบุตร, เต็มดวง สมศิริ และพรเลิศ จันทร์รัชชกูล. 2543. ยาและสารเคมีเพื่อการป้องกันและรักษาโรค

สัตว์น้ำ. เอกสารเผยแพร่กรมประมง. สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ, กรมประมง. 19 หน้า.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุพรรณบุรี, 2564. จุลินทรีย์ ปม.1

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตราด. 2554. รายงานความก้าวหน้าในการเพาะพันธุ์ปลาอ้องอ้อย.

แหล่งที่มาhttp://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site2/rfa-trat. 19 สิงหาคม 2562.

สุจินต์ หนูขวัญ และ อรุณี รอดลอย. 2552. 100ชนิดปลาสวยงามของไทย. สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและ

พรรณไม้น้ำ, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 116 หน้า

Kottelat, M. and K.P.Lim. 1993. A review of the EEL-Loaches of the genus Pangio (Teleostei:

Cobitidae) form the Malay Peninsula, with descriptions of six new species. Raffles

Bulletin of Zoology. 41(2):203-249

Seriouslyfish. 2019. SPECIESPROFILE Pangio myersi (Harry, 1949) Giant Kuhli Loach Loach.

Available source: https://www.seriouslyfish.com/species/pangio-myersi. December 11, 2020.

Create a Flipbook Now
Explore more